ลักษณะสำคัญของภาษาไทย

[-HoMe-] [-Thai M.5-] [-Thai M.5_2-] [-PorTFoRiO-] [-WeBBoArD-] [-WeBMaSTeR-]

ลักษณะสำคัญของภาษาไทย

                ภาษาไทยเราแม้จะมีคำภาษาต่างๆ เข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยเพื่อความเข้าใจกันทั่วไปก็ตาม ก็เป็นเพียงถ้อยคำ ความหมายของคำเท่านั้นไม่ได้เปลี่ยนโครงสร้างที่เป็นลักษณะสำคัญของภาษาไทยเรา พอจะสรุปได้ดังนี้

                1) เป็นคำโดด

                2) มีเสียงสูงต่ำเหมือนเสียงดนตรีเมื่อออกเสียง

                3) มีเสียงขาดห้วงเป็นคำๆ

                4) มีการแบ่งภาชนะเป็นภาชนะเสียงกลาง พยัญชนะเสียงต่ำ พยัญชนะเสียงสูง

                5) มีเสียงวรรณยุกต์ และรูปวรรณยุกต์ประกอบแต่ละคำ

                6) มีการประสมอักษร เพื่อให้อ่านออกเสียงได้ และไม่ใช้เป็นตัวสะกดในภาษา

                8) มีมาตราต่างๆ แตกต่างกันถึง 9 แม่ และมีตัวสะกดเฉพาะแม่นั้นๆ

                9) ใช้ลักษณะนามกำกับ

                10) คำที่ประสมกันตามอักษรวิธีแล้วนำมาเรียงติดต่อกัน โดยไม่มีเครื่องหมายวรรคตอนอย่างภาษาอื่น

                11) รู้ความหมายของคำเมื่อนำมาเข้าประโยคแล้ว

                12) ถ้อยคำภาษาไทยแท้จะไม่ใช้เครื่องหมายการันต์ เครื่องหมายการันต์จะใช้คำจากภาษาอื่นที่ชาวไทยออกเสียงไม่ครบถ้วนตามภาษาเดิม

                13) การเรียงคำเข้าประโยค เป็นไปตามลำดับก่อนหลังคือ ประธาน ขยายประธาน กริยา กรรม ขยายกรรม และขยายกริยา

                14) คำที่ขยายนั้นวางไว้ข้างหลัง

                15) ไม่นิยมคำควบกล้ำ

                16) การวางรูปสระนั้น เวลาเขียนอาจอยู่ข้างหน้า อยู่ข้างหลัง อยู่ข้างบน อยู่ข้างล่างของพยัญชนะหรืออยู่ลอยๆ ก็ได้

                17) คำภาษาไทยเรามีระเบียบในการใช้คำราชาศัพท์

ฯลฯ

1. ภาษาคำโดด  คำโดดคือคำที่ออกเสียงพยางค์เดียว เช่น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ป่า เขา ใหญ่ น้อย สูง ต่ำ ดำ ขาว

                ต่อมาเมื่อภาษาวิวัฒนาการขึ้น ก็ค่อยๆ กลายเป็นคำหลายพยางค์ขึ้น โดยซ้ำคำบ้าง นำคำใกล้เคียงมาเติมเข้าบ้าง แต่ก็ยังเห็นลักษณะคำโดดอยู่ เช่น ครืนครืน - คะครืน , คึกคึก - คะคึก , หมากม่วง - มะม่วง , ต้นไคร้ - ตะไคร้ , หรือคำคู่เช่น เรือนชาน บ้านช่อง , ห้องหอ , วัวควาย , ช้างม้า , ข้าวของ , เงินทอง , เพชรพลอย ฯลฯ

2. มีเสียงสูงต่ำของเสียงดนตรีเมื่อออกเสียง เช่น ไปไหนมา , บางละมุง , รักกัน , นกเอี้ยงเลี้ยงความเฒ่า , จับปูดำขยำปูนา , หน้าดำคร่ำเครียด , หน้าบานเหมือนจานเชิง ฯลฯ ถ้าเราจะได้เห็นตำแหน่งของเสียง ก็ลองขีดเส้นเสียงไว้ดู เราจะพิจารณาคำ "น้องเป็นไม้ให้พี่เป็นนก"

จัตวา_______________________

ตรี ___น้อง____ไม้_____นี้____นก_

โท ___________ ให้ - พี่________

เอก________________________

สามัญ _____เป็น__________เป็น___

จัตวา___________เหมือน________

ตรี _______________________

โท __ หน้า__________________

เอก________________________

สามัญ _____บาน________จาน - เชิง_

จ. ________________________

ต. __นก_____เลี้ยง_____________

ท. _____เอี้ยง___________ เฒ่า___

อ. ________________________

ส. _____________ควาย________

จ. __________ขยำ____________

ต. ________________________

ท. ________________________

อ. __จับ____________________

ส. _____ปูดำ________ปู - นา_____


3. มีเสียงขาดห้วงเป็นคำๆ เช่น ความ วัว ยัง ไม่ ทัน หาย    ความ ควาย เข้า แทรก

ไก่ แก่ แม่ ปลา ช่อน       นอน หลับ ไม่ รู้ นอน คู้ ไม่ เห็น

การเปล่งเสียงคำไทยจึงต้องดังทุกคำ ต่อมาเมื่อรับภาษาหลายพยางค์เข้ามาใช้ จึงมีเสียงหนักบ้างเบาบ้าง

4. มีการแบ่งพยัญชนะเป็น เสียงกลาง เสียงต่ำ เสียงสูง

พยัญชนะเสียงกลาง 9 ตัว ได้แก่ ก จ ฎ ฏ ด ต บ น ป อ

พยัญชนะเสียงต่ำ 24 ตัว ได้แก่   ค ฅ ฆ ง     ช ซ ฌ ญ    ฑ ฒ ณ

                                               ท ธ น         พ ฟ ภ ม    ย ร ล ว ฬ ฮ

พยัญชนะเสียงสูง 11 ตัว ได้แก่   ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ส ษ ศ ห

เพื่อประโยชน์ในการเขียนและอ่านคำให้ถูกต้อง

5. มีรูปวรรณยุกต์ และเสียงวรรณยุกต์ประกอบแต่ละคำ

รูปวรรณยุกต์ มี 4 รูป ได้แก่  ่(วรรณยุกต์เอก)    ้ (วรรณยุกต์โท)     ๊ (วรรณยุกต์ตรี)    ๋ (วรรณยุกต์จัตวา)

เสียงวรรณยุกต์ มี 5 เสียง ได้แก่ สามัญ เอก โท ตรี จัตวา

คำทุกคำจะปรากฏเสียงสูงต่ำ เมื่อใช้กับพยัญชนะ ขอให้พิจารณาการผันอักษรต่อไปนี้

แบบการผันอักษร

อักษรสูง     - คำเป็น พื้นเสียง จัตวา  ผันด้วยไม้   ่    ้            เป็นเสียงเอก โท ตามลำดับ เช่น ขา ข่า ข้า

                   - คำตาย พื้นเสียง เอก    ผันด้วยไม้    ้               เป็นเสียงโท เช่น ขะ ข้ะ

อักษรกลาง  - คำเป็น พื้นเสียงสามัญ ผันด้วยไม้    ่    ้    ๊    ๋  เป็นเสียงเอก โท ตรี จัตวา เช่น  กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า

                    - คำตาย พื้นเสียงเอก      ผันด้วยไม้    ้    ๊    ๋      เป็นเสียงโท ตรี จัตวา เช่น  กะ ก้ะ ก๊ะ ก๋ะ

อักษรต่ำ      - คำเป็น พื้นเสียงสามัญ  ผันด้วยไม้      ่    ้        เป็นเสียงเอก โท ตรี เช่น คา ค่า ค้า

                    - คำตาย สระเสียงสั้น พื้นเสียงตรี ผันด้วยไม้    ่    ๋   เป็นเสียงโท จัตวา เช่น คะ ค่ะ ค๋ะ

                    - คำตาย สระเสียงยาว พื้นเสียงโท ผันด้วยไม้    ้    ๋  เป็นเสียง ตรี จัตวา เช่น มาก ม้าก ม๋าก

6. มีการประสมอักษร เพื่อให้อ่านออกเสียงได้ คำที่อ่านจะต้องประกอบด้วย พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์เสมอ สระที่ไม่ปรากฏเรียกว่า สระลดรูป วรรณยุกต์ที่ไม่ปรากฏรูปวรรณยุกต์ถือตามระดับเสียงวรรณยุกต์แทน

ประสม 3 ส่วน  ได้แก่คำแม่ ก.กา เช่น ใจ พยัญชนะต้นสระ ไอไม้ม้วน วรรณยุกต์ สามัญ

ประสม 4 ส่วน  ได้แก่คำในแม่ ก.กา ที่มีตัวการันต์อย่างหนึ่ง เช่น ไมล์

                           พยัญชนะต้นสระ ไอ วรรณยุกต์ สามัญ การันต์   ์

                           หรือได้แก่คำที่มีตัวสะกด เช่น กิน

                           พยัญชนะต้น สระ อิ วรรณยุกต์ สามัญ ตัวสะกด

ประสม 5 ส่วน  ได้แก่คำที่มีตัวสะกดและตัวการันต์ด้วย เช่น จันทร์

                           พยัญชนะต้นสระ อะ (แปลงเป็นไม้หันอากาศ) วรรณยุกต์ สามัญ

                           ตัวสะกด น ตัวการันต์ ทร์

7. มีพยัญชนะที่ใช้เป็นตัวสะกดได้ และไม่ใช้เป็นตัวสะกดในภาษา

พยัญชนะที่ใช้เป็นตัวสะกดได้ วรรคกะ ได้แก่ ก ข ค ฆ ง

                                             วรรคจะ           จ ช ซ ญ

                                             วรรคฏะ           ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส

                                             วรรคตะ           ด ต ถ ท ธ น

                                             วรรคปะ           บ ป พ ฟ ภ ม

                                             เศษวรรค          ย ร ล ว ศ ษ ส

พยัญชนะที่ไม่ใช้เป็นตัวสะกด 9 ตัว ได้แก่ ข ค ฉ ฌ ผ ฝ ห อ ฮ

พยัญชนะตัวสะกดวรรคกะ    สัก สุข พยัคฆ์ เมฆ มิ่ง

พยัญชนะตัวสะกดวรรคจะ    ตรวจ คช กาช ปัญญา

พยัญชนะตัวสะกดวรรคฎะ    กฎ ปรากฏ รัฐบาล ครุฑ วัฒนา พิณ

พยัญชนะตัวสะกดวรรคตะ    ลด อัตถ์ รถ บท อาวุธ นั้น

พยัญชนะตัวสะกดวรรคปะ    พบ สังเขป ราพณ์ ออฟฟิศ ลาภ ชม

พยัญชนะตัวสะกดเศษวรรค   โดยสาร ผล กราว พิศวง กระดาษ วาสนา

8. มีมาตราต่างๆ แตกต่างกันถึง 9 แม่ และมีตัวสะกดเฉพาะแม่นั้นๆ

มาตราแม่ ก.กา ไม่มีตัวสะกด

มาตราแม่กก คำไทยจะใช้ ก ต่อมาจะเพิ่มขึ้น ก ข ค ฆ

มาตราแม่กด คำไทยจะใช้ ด ต่อมามีเพิ่มขึ้น จ ช ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส

มาตราแม่กบ คำไทยจะใช้ บ ต่อมามี บ ป พ ฟ ภ

มาตราแม่กง คำไทยจะใช้ ง

มาตราแม่กน คำไทยจะใช้ น ต่อมามี ญ ณ น ร ล ฬ

มาตราแม่กม คำไทยจะใช้ ม

มาตราแม่เกอว คำไทยจะใช้ ว

มาตราแม่เกย คำไทยจะใช้ ย

9. ใช้ลักษณะนามกำกับ คำไทยมักใช้ลักษณะนามต่อท้ายคำนามหรือต่อท้ายจำนวน เช่น บ้านสองหลัง , ปืนสามกระบอก , ปี่เลานั้น , นกตัวนี้ ฯลฯ

10. คำที่ประสมกันตามอักษรวิธีแล้วนำมา เรียงต่อกัน โดยไม่มีเครื่องหมายวรรคตอนอย่างภาษาอื่น มีเครื่องหมายวรรคตอนอยู่สองอย่าง คือ เว้นวรรค และการขึ้นย่อหน้าใหม่

11. รู้ความหมายของคำเมื่อนำมาเข้าประโยคแล้ว เนื่องจากคำในภาษาไทยมีน้อยจึงใช้คำซ้ำกัน แต่มีหน้าที่ในประโยคต่างกัน เป็นนาม เป็นกริยา เป็นคำวิเศษณ์ หรือเป็นคำบุพบท สันธาน เช่นคำว่า ขัน เป็นได้ทั้งนาม กริยา วิเศษณ์ เมื่อเข้าประโยคแล้วก็จะทราบความหมายได้แน่ชัดขึ้น

                1.ไก่ขันก่อนที่จะมีการแข่งขัน (กริยา)

                2.เขาถือขันไปล้างหน้าแล้วทำกริยาขันๆ (นาม) และ (วิเศษณ์)

12. ถ้าเป็นคำไทยแท้จะไม่ใช้เครื่องหมายการันต์ เครื่องหมายการันต์จะใช้คำจากภาษาอื่นที่ชาวไทยออกเสียงไม่ครบถ้วนตามภาษานั้น เช่น วันจันทร์นั้นควรสีนวลขาว  จะยืนยาวชันษาสถาผล

จันทร์มาจากภาษาสันสกฤต

13. การเรียงคำเข้าประโยค เป็นไปตามลำดับก่อนหลัง คือ ประธานขยายประธาน กริยา กรรมขยายกรรมและกริยา เช่น นายเกรียงไกร รักอิสระ หัวหน้าชุด ปทปช.ได้นำทหารพรานเข้าช่วยงานที่ 864 เข้ากวาดล้างผู้ก่อการร้าย ฯลฯ

แสดงสัมพันธ์ประโยค

ประธาน

บทขยาย

กริยา

กรรม

บทขาย

บทขยายความ

1) นายเกรียงไกร

2) ทหาร

3) เชียงราย

รักอิสระ

ไทย

-

ได้นำ

ได้พัฒนา

เป็น

ทหารพราหมณ์

หมู่บ้านกลาง

-

ช่วยงานที่ 864

จังหวัดอุตรดิตถ์

-

เข้ากวาดล้างผู้ก่อการร้าย

ด้วยความมานะอดทน

จังหวัดเหนือสุดของประเทศไทย

14. คำที่ขยายนั้นวางเรียงไว้ข้างหลัง

เด็กดำชอบกินข้าวเหนียวแดงมาก

เสือเหลืองวิ่งไล่ลูกกวางตัวเล็ก

15. คำไทยไม่นิยมควบกล้ำ เช่น ฟ้า น้ำ นิ่ง นอน เต้น ภายหลังนิยมเพิ่มพยางค์มากขึ้น มีการใช้พยัญชนะ ร ล ว ควบกับพยัญชนะตัวหน้า เช่น กวางดงวิ่งลับไปคลับคล้าย

                                                 ปลากริมว่ายกินไคลอยู่ริมตลิ่ง

16. การวางรูปสระนั้นเวลาเขียนอาจอยู่ข้างหน้า อยู่ข้างหลัง อยู่ข้างบน อยู่ข้างล่างตัวพยัญชนะ หรืออยู่ลอยๆก็ได้

สระที่เขียนข้างหน้าพยัญชนะ ได้แก่ สระ เอ แอ โอ ไอ ใอ

สระที่เขียนไว้ข้างบนพยัญชนะ ได้แก่ สระ อิ อี อึ อือ

สระที่เขียนไว้ข้างหลังพยัญชนะ ได้แก่ สระ อะ อา ออ อัว

สระที่เขียนไว้ข้างล่างพยัญชนะ ได้แก่ สระ อุ อู

สระที่เขียนไว้ข้างหน้าและข้างหลังพยัญชนะ หรือล้อมพยัญชนะ ได้แก่ สระ เอะ แอะ โอะ เอาะ เอียะ เอีย เออะ เออ เอือะ เอือ เอา

สระที่อยู่ลอยๆ เราเรียกว่า สระลอย ได้แก่ สระที่มิได้ประสมกับพยัญชนะอื่น เช่น อร่อย

17.ภาษาไทยเรามีระเบียบการใช้ราชาศัพท์เป็นพิเศษอีกอย่างหนึ่งเป็นคำเฉพาะบุคคล โดยไทยเราได้แบ่งการใช้คำราชาศัพท์แก่บุคคลต่างๆ ในสังคม มี 5 ประเภท คือ

1) คำสำหรับพระมหากษัตริย์

2) คำสำหรับเจ้านายราชวงศ์

3) คำสำหรับขุนนางข้าราชการ

4) คำสำหรับพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา

5) คำสำหรับคนสุภาพทั่วไป


ภาษาบาลีในภาษาไทย

              คำภาษาบาลีและคำภาษาสันสฤตที่ใช้ในภาษาไทยนั้นมีมานานแล้ว   เข้าใจว่าเมื่อคนไทยรับพุทธศาสนามาเป็นศาสนาประจำชาติ  เราก็มีภาษาบาลี  เมื่อเรารับนับถือศาสนาพราหมณ์   เราก็มีภาษาสันสกฤตขึ้นในภาษาไทยตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์มีว่า   ประมาณพุทธศักราช  500  ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชพระองค์ได้ส่งสมณทูตชื่อพระโสณะพระอุตตระเข้ามา   เผยแผ่พุทธศาสนาในแคว้นสุวรรณภูมินี้   ชาวไทยก็มีคำในพุทธศาสนาใช้ในภาษาบาลีนับแต่เวลานั้นถึงปัจจุบันนี้ก็ประมาณสองพันปีแล้ว   คำภาษาบาลีนั้นนำมาใช้ปนกับคำไทยเดิมของเรา   และรู้สึกว่าเป็นภาษาที่ไพเราะ  ศักดิ์สิทธิ์   ให้เราระลึกถึงพุทธวจนะของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่เสมอ   และมีถ้อยคำสวดสรรเสริญ  พระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์อยู่เสมอเป็นเนืองนิตย์   แม้กระทั่งในปัจจุบันเรามีพระสงฆ์ในประเทศนับจำนวนแสนได้ถ่ายทอดภาษาบาลีให้คงอยู่

ภาษาสันสกฤตในภาษาไทย

              เป็นภาษาที่พราหมณ์ชาวอินเดียเป็นผู้นำเข้ามาพร้อมกับศาสนาพราหมณ์   พราหมณ์เป็นผู้ทำพิธีสำคัญของบ้านเมืองพราหมณ์ใช้ภาษาสันสกฤต   คนไทยเราก็รับเอาภาษาสันสกฤต   วรรณกรรมของอินเดียอาทิ   เรื่อง-รามายณะ  เรื่องมหาภารตยุทธเข้ามาด้วย   เมื่อมีการตั้งราชธานีจะมีการสร้างเสาชิงช้าและโบส์พราหมณืไว้กลางเมือง   เพื่อพราหมณ์จะได้ทำพิธีของพราหมณ์   และพราหมณ์มีหน้าที่สอนพระเวท  สอนหนังสือ  คนไทยนับตั้งแต่โอรสกษัตริย์ลงมาก็ศึกษาพุทธศาสน์จากศาสนาพุทธ   และการศึกษาภาษาสันสกฤตจากไสยศาสตร์ของพราหมณ์ด้วย   เมื่อสังเกตดูถ้อยคำในภาษาไทยแล้วภาษาสันสกฤตฝังรกรากแน่นแฟ้นกว่าคำบาลีของพุทธศาสนา   เราจึงเชื่อว่าคำภาษาบาลีมาภายหลังภาษาสันสกฤต

1.  อักษรเดิมของอินเดียไม่ว่าจะเป็นอักษรพราหมี  อักษรคฤนถ์  อักษรเทวนาศรี   ได้รับการเปลี่ยนรูปร่างมาเป็นรูปอักษรไทยหมดสิ้น   นับตั้งแต่สมัยสุโขทัย  พ.ศ. 1835   ตั้งแต่มีการจารึกถ้อยคำลงหลักศิลา  หลักที่ 1มีคำที่เป็นภาษาบาลีสันสกฤตประมาณสี่สิบคำเศษ  อาทิ

              " สรีอินทราทิตย์  ราม  ษุกโขไท  สุกโขไท  ตรีบรู  ทาน  สีล  สรธา  พระพุทธศาสนา  พรนษา กถิน 

ปรีพารกถีน  อไรญิก  พีหาร  พระพุทธรูป  อรญญิก  มหา  เถร  สงหราชปราชญ  ปิดกไตร  สรีธรรมราช  ทเล  ถ๋าน  พระอจน  ปราสาท  สรีดภงส  เทพดา  พลี  สก  ศรีสชชนนาไล  ธรมม  อุบาสก  สถาบก  พระศรัรตนธาตุ  ษาลา  พุทธษาลา  มนงงชีลาบาตร  พระธาตุ  พระเจดี  อาจารย  ราชบูรี  เพชบูรี  ทเล  สมุทร "

2.  ครั้นถึงรัชกาลพญาลิไท   ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือเตภูมิกถาจากต้นฉบับที่พระมหาช่วย   วัดกลากปากน้ำ   สมุทรประการ  ลอกจารคัดมา  จะเห็นว่า  ภาษาบาลีสันสกฤตมีมากขึ้นกว่าเดิม   ลอกมาให้ดูเฉพาะตอนที่กล่าวถึงสวรรค์ชั้นดุสิตว่า

               " ชั้นอันชื่อว่า  ดุสิดาสวรรค์นั้นๆ มีปราสาทเงินแลปราสาททองเป็นวิมาน  แลมีกำแพงแก้วล้อมรอบโดยกว้าง  โดยสูง  โดยงามนั้น   ยิ่งกว่าปราสาทของ เทพยดาทั้งหลายอันอยู่ชั้นยามานั้น   และมีบรรณาการทุกสิ่ง  คือ   สระและสวนดุจกันชั้นฟ้าทั้งหลายแล...  หมู่เทวดาทั้งหลายอันอยู่ดุสิดานั้นรู้บุญ  รู้ธรรม  ทั้งพระโพธิสัตว์เจ้าผู้สร้างสมภาร   อันจะลงมาตรัส เป็นพระพุทธเจ้าใส้   เทียรย่อมสถิตในชั้นฟ้านั้นแล   บัดนี้พระศรีอาริยเมไตรยเจ้าผู้จะได้ลงมาตรัส เป็นพระพุทธเจ้าภายหน้าในภัททกัลปนี้ก็เสร็จสถิตในที่นั้นแล   ย่อมตรัส เทศนาธรรมให้เทพดาทั้งหลายฟังอยู่ทุกเมื่อบ่มีขาดแล "   มีคำภาษาบาลีสันสกฤตอยู่ประมาณสี่สิบสามคำ   มีปะปนกับภาษาไทยอยู่ทุกบรรทัด

3.  จากพระราชพิธีสิบสองเดือน   พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   เมื่อ  พ.ศ.  2431  หรือ  เมื่อ  96  ปีมาแล้ว

              " พระราชพิธีซึ่งมีสำหรับพระนคร    ที่ได้เคยประพฤติมาแต่ก่อนจนถึงปัจจุบันนี้  อาศัยที่มาเป็น  2  อย่าง   อย่างหนึ่งมาตามตำราไสยศาสตร์ที่นับถือพระเป็นเจ้า  อิศวร  นารายณ์  อย่างหนึ่งมาตามพระพุทธศาสนา   แต่พิธีที่มาจากต้นเหตุทั้งสองนี้มาคละระคนกันเป็นพิธีอีกอย่างหนึ่งขึ้นก็มี   ด้วยอาศัยเหตุที่แต่เดิมพระเจ้าแผ่นดินและชาวพระนครถือศาสนาพราหมณ์ การใดๆ  ซึ่งนับว่าเป็นศรีสวัสดิมงคลแก่พระนครคัมภีร์ไสยศาสตร์  ก็ประพฤติเป็นราชประเพณีสำหรับพระนครตามนั้น ฯลฯ" เป็นภาษาที่เรียบร้อยง่ายๆ

เมื่อสรุปแล้วจากการสุ่มตัวอย่าง จะเห็นว่าทั้งภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตมีบทในภาษาไทยเราประมาณ 15 - 20 เปอร์เซ็นต์

วิธีสังเกตคำภาษายาลีในภาษาไทย

1. สังเกตจากสระ ภาษาบาลีมีสระอยู่ 8 สระ ได้แก่ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ

เช่น อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ  บูชา จ ปูชะนียานํ  เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

2. สังเกตจากพยัญชนะ ภาษบาลีมีพยัญชนะอยู่ 33 ตัว จัดวรรคอย่างนี้

                ก ข ค ฆ ง

                จ ฉ ช ฌ ญ

                ฏ ฐ ฑ ฒ ณ

                ต ถ ท ธ น

                ป ผ พ ภ ม

                ย ร ล ว ส ห ฬ   ํ (อัง)

3. สังเกตจากสระตัวตาม มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนตายตัว

  1   2   3   4   5

วรรคกะ     ก  ข   ค  ฆ  ง

วรรคจะ     จ   ฉ  ช  ฌ  ญ

วรรคฏะ    ฏ   ฐ  ฑ  ฒ  ณ

วรรคตะ     ต   ถ  ท  ธ  น

วรรคปะ    ป   ผ  พ  ภ  ม

เศษวรรค   ย   ร   ล  ว   ส   ห   ฬ   ํ (อัง)

1) ถ้าพยัญชนะแถวที่ 1 เป็นตัวสะกด พยัญชนะแถวที่ 1 และที่ 2 ในวรรคนั้นตามได้ เช่น สักกะ ทุกขะ

2) ถ้าพยัญชนะแถวที่ 3 เป็นตัวสะกด พยัญชนะแถวที่ 3 และที่ 4 ในวรรคนั้นตามได้ เช่น อัคคี พยัคฆ์

3) ถ้าพยัญชนะแถวที่ 5 เป็นตัวสะกด พยัญชนะทุกตัวในวรรคนั้นตามได้ เช่น สงฆ์ องค์ สังข์ อังกะ

4) พยัญชนะเศษวรรคเป็นตัวสะกด พยัญชนะเศษวรรคด้วยกันหรือพยัญชนะท้ายวรรคทุกวรรคตามได้ เช่น อัสสะ ชิวหา ฯลฯ

วิธีสังเกตคำภาษาสันสกฤตในภาษาไทย

1) สังเกตจากสระ สระสันสกฤตมี 14 สระ มากกว่าภาษาบาลีอยู่ 6 สระ ได้แก่ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ฤ ฤา ฦ ฦา เอา ไอ เช่น อัศจรรย์ อาศรม ฯลฯ

2) สังเกตพยัญชนะ ศ ษ ที่ มีมากกว่าภาษาบาลี เช่น กษัตริย์ ภาษา ศาลา ฯลฯ

3) สังเกตจากตัวสะกดตัวตาม มีที่แปลกจากภาษาบาลีคือ พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดนั้น พยัญชนะตัวตามแม้จะต่างวรรคก็ตามได้ เช่น มุกดา สัปดาห์ พิทยา ฯลฯ

4) สังเกตจากคำที่มี รร (รอหัน) มักมีรากฐานมาจากคำภาษาสันสกฤต เช่น จรรยา มรรยา สวรรค์ ภรรยา บรรพต สรรพ บรรณาธิการ ฯลฯ

5) สังเกตจากพยัญชนะควบกล้ำ คำในภาษาสันสกฤตจะมีพยัญชนะควบกล้ำมาก เช่น จักร บัตร ฉัตร เนตร ประโยค ประเทศ ฯลฯ

6) สังเกตหลักการใช้ ศ ษ ส ในภาาาสันสกฤตมีกฏว่า

ศ ใช้กับวรรค จ เช่น พฤศจิกายน

ษ ใช้กับวรรค ฏ เช่น สันนิษฐาน

ส ใช้กับวรรค ส เช่น พัสดุ

                7) สังเกตจากหลักการใช้ ณ ในภาษาสันสกฤตมีว่า พยัญชนะ ณ เมื่อตามหลัง ฤ ร ษ ต้องใช้ ณ ยกเว้น ปักษิณ เช่น นารายณ์ พราหมณ์ ฯลฯ

                8) สังเกตจากคำแผลงในภาษาไทยที่เป็นสระแอ โดยแผลงมาจากสระไอในภาษาสันสกฤต เช่น แพทย์-ไวทย , แสนยา-ไสนยา ฯลฯ

คำภาษาบาลี คำภาษาสันสกฤตที่พบที่ใช้อยู่ในภาษาไทยทั่วไป

                เพื่อจะให้ทราบกฏเกณฑ์ทั้งหลักใหญ่และหลักปลีกย่อย ในการสังเกตคำภาษาบาลีหรือคำภาษาสันสกฤตที่อยู่ในภาษาไทย เมื่อเราพบแล้ว ควรจะหาอีกภาษหนึ่งซึ่งมีความหมายอย่างเดียวกัน พร้ออมกับหาความหมายกฎเกณฑ์ไปพร้อมกัน

ภาษาไทย

ภาษาบาลี

ภาษาสันสกฤต

คำแปล

อารยะ

อัศจรรย์

อัปสร

อาขยาน

อาตมา

อริย

อจฺฉริย

อจฺฉรา

อกฺขาน

อตฺต

อารย

อาศฺจรฺย

อปฺสรสฺ

อาขฺยาน

อาตฺมนฺ

ชาติอินเดียโบราณ

น่าพิศวง

นางฟ้า

การท่อง การเล่าเรื่อง

ตนเอง , ตัวเรา