การรับสารโดยการฟัง

[-HoMe-] [-Thai M.5-] [-Thai M.5_2-] [-PorTFoRiO-] [-WeBBoArD-] [-WeBMaSTeR-]

 

การรับสารโดยการฟัง

ความหมายของการฟัง

                การฟังเป็นทักษะการรับสารจากเสียงที่ได้ยิน การได้ยินเป็นจุดเริ่มต้นของการฟังเมื่อเสียงมากระทบประสาทหู เป็นความสามารถทางกาย ส่วนการฟังเป็นกระบวนการของสมองต่อเนื่องจากการได้ยินคือ ต้องมีสมาธิเพื่อรับรู้ และมีความสามารถทางสติปัญญาเพื่อจะได้เข้าใจ จับใจความและจดจำเรื่องที่ได้ยินนั้นได้

                จุดมุ่งหมายของการฟัง

ในการฟัง มีจุดมุ่งหมายที่อาจแบ่งได้เป็น 4 ประการ

1. ฟังเพื่อติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน เป็นการฟังพ่อแม่ ญาติพี่น้อง เพื่อน และคนอื่นที่เราติดต่อเกี่ยวข้องด้วย เป็นการฟังที่ทำให้คนเราคงความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ซึ่งทำให้ดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข

2. ฟังเพื่อความเพลิดเพลิน เป็นการฟังเพื่อความสนุกสานา ผ่อนคลายความตึงเครียดจากการทำงาน ภาวะแวดล้อมและความวิตกกังวล จัดเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการนันทนาการได้

3. ฟังเพื่อความรู้ เป็นการฟังเพื่อให้รอบรู้เรื่องต่างๆ

4. ฟังเพื่อให้ได้คติชีวิตหรือความจรรโลงใจ เป็นการฟังที่ก่อให้เกิดสติปัญญาและวิจารณ์ญาณ ค้ำจิตใจให้สูงขึ้น ประณีตขึ้น

หลักการฟังที่ดี

1. ฟังเพื่อให้ตรงความมุ่งหมาย

ก. ฟังเพื่อติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน จะต้องใส่ใจฟัง ไม่มัวไปคิดถึงเรื่องอื่นหรือพะวง

ทำกิจอื่น และบางเรื่องจำเป็นต้องจดข้อความไว้เพื่อนเตือนความจำ

                ข. ฟังเพื่อความเพลิดเพลิน ต้องปล่อยอารมณ์และจินตนาการไปตามเรื่องที่ฟัง

                ค. ฟังเพื่อความรู้ ต้องตั้งใจและมีสมาธิในการฟัง เพื่อจะไก้เข้าใจเรื่องที่ฟังและจับสาระสำคัญของเรื่องได้

                ง. ฟังเพื่อความจรรโลงใจ ต้องวินิจสารให้ได้ว่าสารจรรโลงใจนั้นให้แง่คิด ข้อคิดใด จะนำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตที่ดีงามได้อย่างไร

                2. ฟังโดยมีความพร้อม คือ พร้อมทั้งร่างกาย(มีสุขภาพดีทางกายดี) จิตใจ (ไม่ทุกข์ร้อน วิตกกังวล) และสติปัญญา (มีพื้นฐานความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่ฟัง)

                3. ฟังโดยมีสมาธิ คือ ฟังด้วยความตั้งใจ จิตใจจดจ่ออยู่กับเรื่องที่ฟัง

                4. ฟังโดยความกระตือรือร้น คือ ฟังด้วยความสนใจ

                5. ฟังโดยไม่มีอคติ คือ ไม่ลำเอียง จะทำให้ผู้ฟังวิเคราะห์เรื่องที่ฟังให้ได้อย่างถูกต้อง

                การพัฒนาสมรรถภาพในการฟัง

                1. เตรียมตัวก่อนฟัง คือ เตรียมหาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและเกี่ยวกับผู้พูด เพื่อเป็นพื้นความรู้ไว้ก่อน เมื่อไปฟังจะได้รับรู้ เข้าใจ และเห็นภาพได้ชัดเจน รวมทั้งเข้าใจแนวความคิดของผู้พูดได้ง่ายขึ้นด้วย

                2. เลือกที่นั่งฟังให้เหมาะสม คือ เลือกที่นั่งให้ได้ยินชัดเจน มองเห็นหน้าตา อากัปกิริยา

ท่วงทีของผู้พูดได้ด้วย เพื่อที่จะรับสารจากผู้พูดได้สมบูรณ์ทุกประการ

                3. ฟังด้วยความตั้งใจจริง คือ ตั้งใจที่จะจับสาระสำคัญ จุดมุ่งหมายของผู้พูด ตั้งใจที่จะวิเคราะห์ให้ได้ว่าอะไรเป็นใจความ อะไรเป็นพลความ อะไรเป็นข้อเท็จจริง อะไรเป็นข้อคิดเห็น

                4. ฟังโดยมีปฏิกิริยาสัมพันธ์กับผู้พูดโดยจริงใจ คือ จับตามองผู้พูด แสดงออกทางสีหน้า แววตา พยักหน้าน้อยๆ เป็นต้น ปฏิกิริยาเหล่านี้จะทำให้ผู้พูดทราบว่าผู้ฟังสนใจ พอใจ เข้าใจหรือไม่ เพื่อให้ผู้พูดปรับเปลี่ยนการพูดให้เข้ากับปฏิกิริยาของผู้ฟัง

                5. รู้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพที่ผิดปกติ เช่น เครื่องปรับอากาศเสียกะทันหันทำให้อากาศอบอ้าวไปบ้าง ก็ไม่ควรแสดงอาการเดือดร้อนรำคาญจนไม่มีสมาธิในการฟัง หรือรบกวนการฟังของผู้อื่น

                6. จดบันทึกเรื่องที่ได้ฟังให้ถูกวิธี เพื่อนำไปใช้ให้เกดประโยชน์ คือ จดบันทึกเฉพาะสาระสำคัญโดยอาจใช้เครื่องหมายและอักษรย่อแทนการเขียนเต็ม คำที่มีความหมายสำคัญเป็นพิเศษอาจใช้เครื่องหมายอัญประกาศกำกับ และควรทบทวนบันทึกย่อนี้หลังการฟังมาแล้วให้เร็วที่สุด แล้วเรียบเรียงให้ให้ถูกต้องสมบูรณ์

                มารยาทในการฟัง

                1. การฟังผู้ใหญ่พูด ต้องสำรวมกิริยา สบตาผู้พูดเป็นระยะๆไม่ชิงพูดก่อนผู้ใหญ่พูดจบ

                2. การฟังผู้อื่นพูดในที่ประชุม ต้องตั้งใจฟัง จดใจความสำคัญลงไว้ ไม่กระซิบหูดกับผู้อื่นไม่ทำกิจส่วนตัว ไม่พูดแซง เมื่อจะพูดให้ยกมือขออนุญาต

                3. การฟังดนตรี การพูดในที่ประชุม จะต้องรักษาความสงบ ไม่กระทำการใดๆ ที่ทำให้ผู้อื่นรำคาญ เช่น พูดคุย เคี้ยวอาหารเสียงดัง เดินเข้าๆ ออกๆ การฟังการพูดในที่ประชุม เช่น การบรรยายการอภิปราย จะพูดซักถามข้อสงสัยหรือพูดแสดงความรู้ความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ในช่วงเวลาที่ผู้พูดเปิดโอกาสให้ เช่น ตอนท้ายของการบรรยายเมื่อผู้พูดจบแล้ว หรือในคาบเวลาอภิปรายทั่วไป(Fourum Period) เมื่อพูดอภิปรายจบแล้ว

                ผู้ที่เสียมารยาทมากที่สุดในการฟังคือ ผู้ฟังที่พูดในขณะผู้พูดอยู่ เพราะว่าเป็นลักษณะการฟังที่ไม่พึงประสงค์ คือ ไม่ให้เกียรติผู้พูด รบกวนสมาธิการฟังของผู้อื่น และการสื่อสารระหว่างผู้พูดกับผู้ฟังล้มเหลวเพราะเมื่อผู้ฟังพูดแล้ว ย่อมจะไม่ได้ฟังเรื่องที่ผู้พูดกำลังพูดอยู่