การถามและตอบให้มีประสิทธิผล

[-HoMe-] [-Thai M.5-] [-Thai M.5_2-] [-PorTFoRiO-] [-WeBBoArD-] [-WeBMaSTeR-]

ถามและตอบให้มีประสิทธิผล

จุดประสงค์ของการถามและตอบ

                การถามและตอบต่างก็เป็นการส่งสารแต่มีจุดประสงค์ต่างกันดังจะเปรียบเทียบให้เห็นดังนี้

 จุดประสงค์ของการถาม

1.เพื่อจะได้ทราบข้อเท็จจริงหรือข้อคิดของอีกฝ่ายหนึ่ง

2.เพื่อทดสอบว่า ผู้ตอบมีความรู้หรือไม่หรือมีความคิดเห็นอย่างไร

3.เพื่อให้เป็นส่วนประกอบของกลวิธีให้ความรู้หรือข้อคิดแก่บุคคลอื่น

4.เพื่อแสดงอัธยาศัยไมตรี

5.เพื่อแสดงความสนใจ

จุดประสงค์ของการตอบ 

-เพื่อให้ข้อเท็จจริงหรือข้อคิดเห็นสนองตอบผู้ถาม

-เพื่อแสดงให้ผู้ถามทราบว่าผู้ตอบมีความรู้เพียงใด หรือมีความคิดเห็นอย่างไร

- เพื่อใช้ร่วมเป็นส่วนประกอบของกลวิธีให้ความรู้หรือข้อคิดแก่บุคคลอื่น

-เพื่อสนองอัธยาศัยไมตรี

-เพื่อสนองความสนใจ

ข้อควรคำนึงในการถาม

                มีข้อควรคำนึงในการถามที่สำคัญๆ ดังนี้

1.มารยาท พึงละเว้นคำถามที่ไม่สุภาพ คำถามก่อให้เกิดกระดากอาย คำถามยกตนข่มท่าน

 หรือคำถามโอ้อวด

          2. บุคคล ต้องพิจารณาว่าผู้ที่เราถามเป็นใคร เพื่อจะได้ใช้คำถามที่เหมาะสม

                3. กาลเทศะ ก่อนถามควรดูกาลเทศะควรละเว้นคำถามจุกจิกกวนใจคำถามซ้ำซาก

                4. สาระ คำถามควรมีสาระมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นบ้างพอสมควร

                5.ภาษา คำถามควรกะทัดรัด ชัดเจน

วิธีตั้งคำถาม

                วิธีถามที่ใช้กันอยู่เสมอมีดังนี้

                1.วิธีตั้งคำถามเพื่อได้ข้อเท็จจริง มักใช้คำ ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร หรือไม่ ทำไม เป็นต้น

                2.วิธีตั้งคำถามเพื่อได้ข้อคิดเห็น ผู้ถามต้องการทราบเหตุผลมากกว่าเนื้อหาของคำถาม

                3.วิธีตั้งคำถามเพื่อทดสอบ เพื่อให้รู้ว่าควรจะตอบอย่างไร หรือตอบไปในแนวใด

                4.วิธีตั้งคำถามเพื่อให้ได้คำตอบหลากหลาย ช่วยให้ได้ความรู้และความคิดที่กว้างขวางมากขึ้น

                5.วิธีตั้งคำถามเพื่อแสดงความสุภาพของผู้ถาม ใช้คำว่า กรุณา โปรด ขอประทานโทษ เป็นต้น

 ข้อคำนึงในการตอบ

1.การจับประเด็น เพื่อให้ได้รู้ว่าผู้ถามต้องการถามประเด็นใด

2.การใช้ภาษา ต้องใช้ให้เหมาะกับผู้ฟัง

3.การแสดงมารยาท ควรตอบให้สุภาพนุ่มนวล

วิธีตอบ

                1.ตอบให้ตรงคำถาม

                2.ตอบให้แจ่มแจ้ง

                3.ตอบให้ครบถ้วน


 

คำแผลงชนิดต่างๆ

                "คำแผลง" คือคำที่เปลี่ยนแปลงให้ผิดแผกไปจาก "คำเดิม" เพื่อ

1.เป็นการพัฒนาภาษาให้ไพเราะขึ้น

2. เป็นการสร้างคำให้มีคำมากพยางค์

3.เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ให้ภาษาเกิดเสียงดี ความหมายดี นุ่มนวลกว่าคำพื้นๆ

ที่มาของคำแผลง

          1. ที่มาทางภาษาเขมร

                2. ที่มาทางภาษาบาลีสันสกฤต

                3. ที่มาทางภาษาไทยเดิม

1) การวิเคราะห์คำแผลงที่มาทางภาษาเขมร

                ชาวขอมหรือเขมรมีประวัติว่า เมื่อชาติไทยเข้ามาครอบครองนี้ เคยเป็นดินแดนของขอมแต่ก่อน ไทยจึงยืมภาษาขอมมาใช้ ปรากฏอยู่ในหนังสือไทยโบราณนับตั้งแต่ศิลาจาริกพ่อขุนรามคำแหง เขมรมีวิธีแผลงคำขึ้นใช้หลายวิธี เช่น

ก.      แผลงคำพยางค์เดียวให้เป็นคำหลายพยางค์ โดยเพิ่มเสียงสระอำลงในพยางค์หน้าบ้างให้เกิดเสียงไพเราะขึ้น เช่น เจริญ - จำเริญ ,จ่าย - จำหน่าย  ฯลฯ

ข.      เขมรนำ เอาคำ บอม มาลงข้างหน้าคล้ายคำอุปสรรคในภาษาบาลีสันสกฤต เช่น เรียน - บ่เรียน, หัด - บ่หัด ฯลฯ

ค.      คำเขมรเดิมพยางค์หน้า เป็น ข แผลงเป็นกระ หรือกะก็ได้ในภาษาไทย เช่น ขดาน - กระดาน, ขจอก - กะจอก ฯลฯ

2) การวิเคราะห์คำแผลงที่มาทางภาษาบาลีและสันสกฤต

                ก. ทีฆะและรัสสะ สระใดเสียงสั้นทำให้ยาวเรียกว่า รัสสะ สระอะ ทีฆะให้ยาว เป็น สระอา เช่น รุกข - รุกขา,พฤกษ - พฤกษา ฯลฯ

                ข. อาเทศ คือการแปลงสระ มีการแปลงสระข้างหน้าและสระข้างหลัง ถ้าสระอิ , เอ หรือไอ แปลง สระอิ เป็น ย ก็ได้ เช่น อัคคิ - อาคารัง

 เป็น อัคยา  คารัง

ค.อาคม  คือการลงตัวอักษรใหม่ ลงได้ทั้งสระและพยัญชนะ ถ้าสระโออยู่หน้าพยัญชนะอยู่หลัง ลบโอแล้วลง อ  อาคมได้บ้าง เช่น โส - สีลวา เป็น สลีลวา ฯลฯ

                ง. วิการ คือการเปลี่ยนสระในเบื้องต้นและเบื้องปลาย เช่น แปลง อิ เป็น เอ   อุ เป็น อูหรือไอ หรือเรียกว่า พฤธิ คือ แปลง

3) ที่มาจากภาษาปรากฤต ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นในอินเดีย มักออกเสียงเพี้ยนไป หรือแปลงอักษาเสียใหม่เพื่อให้ออกเสียงได้ง่ายขึ้น เช่น บิตา เป็น บิดา สิเนห เป็น เสน่ห์ ฯลฯ

4) ที่มาจากภาษาไทยเดิม  ไม่มีกฎการแผลงแน่นอนตายตัว แล้วแต่กวีหรือผู้ใช้ภาษา คนภายหลังก็จดจำใช้กันต่อๆ มา มีหลักเกณฑ์พอเป็นแนวทางดังนี้

                ก. พยัญชนะ  ร  ล  ใช้สลับกันได้ เช่น ระลวง - ละลวง  ฯลฯ

                ข.คำที่มีเสียงซ้ำกัน มักใช้ในคำประพันธ์ บางทีมีชื่อว่า อัพภาษ เช่น ครืนครืน - คะครืน ฯลฯ

                ค.นิยมลดเสียงของคำสองพยางค์ลง คล้ายลหุ ฟังเสียงไพเราะขึ้นเช่น หมากม่วง-มะม่วง ฯลฯ

                ง.พยัญชนะที่ออกเสียงในฐานที่ใกล้ชิดกัน เช่น ฉมัน-สมัน ฯลฯ

                จ.คำที่ออกเสียงเพี้ยนกันในชนบทที่เป็นภาษาถิ่น เช่น มะเขือ-มะเขีย ฯลฯ

หลักการแผลงคำในภาษาไทย

          อนึ่งได้กล่าวว่า กวีและประชาชนผู้ใช้ภาษาคิดขึ้นเพื่อให้ได้คำสละสลวยในภาษา  กวีหรือผู้ใช้ในปัจจุบันไม่ค่อยนำมใช้แล้ว เหลืออยู่แต่ในหนังสือวรรณยุกต์ เช่น มหาชาติคำหลวง  ยวนพ่าย เป็นต้น

                หลักคำแผลงจึงมีอยู่เพียงกว้างๆ ว่า ถ้าคำแผลงใดผิดจากคำเดิมตรงส่วนไหนของคำก็จัดว่า เป็นคำแผลงชนิดนั้นๆ เช่น ผิดจากคำเดิมที่สระ เรียกว่า สระแผลง ถ้าผิดจากคำเดิมที่พยัญชนะ เรียกว่า พยัญชนะแผลง ถ้าผิดจากคำเดิมที่วรรณยุกต์ เรียกว่า วรรณยุกต์แผลง บางคำอาจจะผิดจากคำเดิมทั้งสระ พยัญชนะ หรือทั้งสามอย่างเลยแล้วแต่จะได้พบรูปคำในโอกาสใด

คำสระแผลง หมายถึง คำที่เปลี่ยนแปลงจากคำเดิมที่สระ ที่เรียกว่า แผลงสระ

(1)   สระเอ แผลงเป็นสระอา เช่น วน-วนา ฯลฯ

                   แผลงเป็นสระอิ เช่น วรุณ-พิรุณ ฯลฯ

                      แผลงเป็นสระอุ เช่น เชตวนะ-เชตุพน ฯลฯ

                     แผลงเป็นสระเอะ เช่น ปัญจ-เบญจะ ฯลฯ

                   แผลงเป็นสระโอะ เช่น คชะ-คช ฯลฯ

                   แผลงเป็นสระเอาะ เช่น ปัณฑกะ-บัณเฑาะก์ ฯลฯ

                   แผลงเป็นสระออ  เช่น จระ-จร ฯลฯ

                   แผลงเป็นสระเอีย เช่น พยัญชนะ-เพียญชนะ ฯลฯ

                   แผลงเป็นสระอำ เช่น รวิ-รำไพ ฯลฯ

                   แผลงเป็นสระเอา เช่น ชวนะ-เชาวน์

                   แผลงเป็น รร เช่น กระโชก-กรรโชก ฯลฯ

                    สระอะออกเสียงที่ต้นคำ ลดเสียงลงบ้าง เช่น อนุชะ-อนุช ฯลฯ

                   สระอะออกเสียงที่พยางค์ท้าย ใช้พยางค์ท้ายนั้นเป็นตัวสะกด เช่น วิธะ-วิธ ฯลฯ

(2) สระอา สระอา เมื่อเมื่ออยู่ท้ายศัพท์ลดเสียงลงได้ เช่น ศาลา-ศาล ฯลฯ

(3) สระอิ แผลงเป็นสระอีได้ เช่น มหิดล-มหึมา ฯลฯ

   แผลงเป็นสระเอะหรือเอได้บ้าง เช่น นิ่ง-เน่ง ฯลฯ

   แผลงเป็นสระไอได้บ้าง เช่น พิจิตร-ไพจิตร ฯลฯ

   แผลงเป็นสระเอียได้บ้าง เช่น ศิระ-เศียร ฯลฯ

(4) สระอี อาจแผลงกลับกันกับสระอิได้เสมอ เช่น นีล-นิล ฯลฯ

    แผลงเป็นสระเอียได้บ้าง เช่น ธีระ-เธียร ฯลฯ

    แผลงเป็นสระอือได้บ้าง เช่น วีช-พืช ฯลฯ

(5)สระอี-สระอือ แผลงกลับกันได้ เช่น ครืน-ครีน ฯลฯ

(6) สระอุ แผลงเป็นสระอู ได้บ้าง เช่น ไวปุลยะ-ไพบูลย์ ฯลฯ

                 แผลงเป็น อร ได้บ้าง เช่น สาธุ-สาธร ฯลฯ

                แผลงเป็น อวะ ได้บ้าง เช่น สินธุ-สินธวะ ฯลฯ

                 แผลงเป็นโอะ ได้บ้าง เช่น ทุก-ทก ฯลฯ

                แผลงเป็น โอ ได้บ้าง เช่น บุราณ-โบราณ ฯลฯ

                 แผลงเป็นเอา ได้บ้าง เช่น ยุวะ-เยาว์ ฯลฯ

                 แผลงเป็น อัว ได้บ้าง เช่น บริบูรณ์-บริบวรณ์ ฯลฯ

(7) สระอู แผลงเป็นสระอุ หรือกลับกันได้ เช่น วธู-วธุ ฯลฯ

          แผลงเป็นสระโอ ได้บ้าง เช่น พู้น-โพ้น ฯลฯ

                แผลงเป็น ว มีตัวสะกดได้บ้าง เช่น ไอศูรย์-ไอศวรรย์ ฯลฯ

(8) สระเอ แผลงเป็นสระไอได้บ้าง หรือมักจะแผลงทอดมาจากสระอิ เช่น หิรัญ-เหรัญ-ไหรัญ ฯลฯ

(9) สระเอือ แผลงเป็นสระเอียได้บ้าง  เช่น เยือน-เยียน ฯลฯ

(10) สระไอ ที่มีตัวสะกด แผลงเป็นสระแอได้บ้าง เช่น ไวทย-แพทย์ ฯลฯ

(11) สระโอ แผลงเป็นสระเอาได้บ้าง เช่น โอฬาร-เอาฬาร ฯลฯ

วรรณยุกต์แผลง คือ การเปลี่ยนคำที่รูปวรรณยุกต์หรือเสียงวรรณยุกต์

ก.      เปลี่ยนแปลงทางรูปวรรณยุกต์

(1) คำไทยที่ไม่มีไม้วรรณยุกต์ เติมวรรณยุกต์ลงได้บ้าง เพื่อประโยชน์ในการพูดที่สละสลวยและการประพันธ์ เช่น จึง-จึ่ง ฯลฯ

(2) คำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต ไม่กำหนดเสียงวรรณยุกต์ แต่ภาษาไทยกำหนดเสียงวรรณยุกต์ เช่น วิเทห-วิเทห์ ฯลฯ

       ข.    เปลี่ยนแปลงทางเสียงวรรณยุกต์ ในภาษาบาลีสันสกฤตไม่กำหนดเสียงวรรณยุกต์ แต่ในภาษาไทยกำหนดเสียงวรรณยุกต์ ฉะนั้น เวลาออกเสียงจึงแปลกจากคำเดิม เช่น วาสนา(อ่านว่า วาดสะหนา) ฯลฯ

วิเคราะห์ประโยชน์ของคำแผลง

1) เพื่อให้ได้ถ้อยคำที่ดี เสียงไพเราะ สละสลวย

2) เพื่อเป็นประโยชน์ในการแต่งคำประพันธ์

3) เพื่อสะดวกในการออกเสียงคำในภาษาอื่น

คำแผลงในร้อยแก้ว

                "ด้วยเดชะความจงรักภักดีและความซื่อสัตย์สุจริตของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขออานุภาพพระศรีรัตนตรัยจงอภิบาลรักษาใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทให้ชนมายุยืนนาน พระเดชะพระคุณแผ่ไพศาล ไปทั่วทิศานุทิศ เสด็จสถิตในราชสมบัติอันมเหาฬาร สิ่งใดที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทมีพระราชประสงค์ ขอจงบันดาลให้เป็นผลสำเร็จโดยพระราชประสงค์ จงทุกประการเทอญ"